โครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น

ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน.ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559
ปรัชญา
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ ปรัชญา “คิดเป็น”

วิสัยทัศน์
กศน.ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับคนไทยอย่างเสมอภาค เท่าเทียม และมีคุณภาพ

พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ส่งเสริมและพัฒนาการนำเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
4. พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อและนวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุกรูปแบบ
5. พัฒนาบุคลากรและระบบการบริหารจัดการเพื่อมุ่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วม

เป้าประสงค์
1. ประชาชนผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษาได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายพิเศษได้รับโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่เป็นไปตามสภาพปัญหา และความต้องการของแต่ละกลุ่ม
3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ของชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและปรัชญาคิดเป็น อาทิ หมู่บ้านตามรอยพระยุคลบาท หมู่บ้านแห่งการอ่าน บ้านหนังสือชุมชน แหล่งการเรียนรู้ชุมชน
4. ประชาชนได้รับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยมี กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และแหล่งการเรียนรู้อื่นในชุมชนเป็นกลไกในการจัดการเรียนรู้
5. ประชาชนได้รับโอกาสในการเรียนรู้และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์
6. ชุมชนมีการจัดการความรู้ของชุมชนในรูปแบบชุมชนศึกษา เพื่อพัฒนาไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
7. ชุมชนและทุกภาคส่วน ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
8. หน่วยงานและสถานศึกษาพัฒนาและนำสื่อเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพในการจัดการเรียนรู้
9. บุคลากรของหน่วยงานและสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการปฏิบัติงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
10. หน่วยงานและสถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล

นโยบาย รมว.

1. การแปลงพระราชดำรัสฯเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไปเป็นแผนงานโครงการ
6. การยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในทุกหลักสูตร
8. การแก้ไขปัญหาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
9. การแก้ไขปัญหาการทุจริต
18. จัดโครงการติวเข้มเติมเต็มความรู้
19. จัดโครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมฯ ตอนปลาย
20. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยโดยส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
21. ให้ กศน.ตำบล เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเชื่อมประสานระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
24. การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์และจุดเน้น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส
จุดเน้น
1.1 เร่งลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือ
1.2 มุ่งเน้นการจัดการศึกษานอกระบบให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
1.3 ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
1.4 สร้างค่านิยมอาชีวศึกษา เพิ่มสัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษา
1.5 ใช้สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและเหมาะสมเป็นเครื่องมือในการสร้างและกระจายโอกาสทางการศึกษา
1.6 มุ่งเน้นการฝึกหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นระดับพื้นฐานในวิชาช่างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างอุดมการณ์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
จุดเน้น
2.1 ส่งเสริมให้ชุมชนจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
2.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
2.3 ส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ของชุมชนในรูปแบบชุมชนศึกษา
2.4 เร่งสร้างความรู้ ความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักธรรมาภิบาล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 จัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทุกช่วงวัย
จุดเน้น
3.1 มุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนรักการอ่าน
3.2 มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัว
3.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในชุมชนในรูปแบบกลุ่มสนใจ
3.4 ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอาเซียนของกระทรวงศึกษาธิการ
3.5 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชนในเชิงรุกที่หลากหลาย

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษ
จุดเน้น
4.1 จัดและพัฒนาหลักสูตร และกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.2 พัฒนาหลักสูตรการสอนภาษาที่เป็นไปตามบริบท และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
4.3 จัดและส่งเสริมการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
4.4 จัดและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ เปิดโลกทัศน์

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนา กศน.ตำบล ให้เป็นกลไกการขับเคลื่อน
จุดเน้น
5.1 ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่าย กศน.ตำบล เน้นการประสานเชื่อมโยง
5.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กศน.ตำบล ให้มีความพร้อมในการบริการการศึกษา
5.3 พัฒนากระบวนการดำเนินงานใน กศน.ตำบล โดยให้ความสำคัญกับวงจรคุณภาพเดมมิ่ง

ไตรมาศที่ 1
(ตุลาคม - ธันวาคม 2558)
1. จัดทำแผนปฏิบัติการในทุกระดับ
2. สำรวจและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน
3. พัฒนาหลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา นวัตกรรม ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
4. จัดทำตัวชี้วัดทุกระดับ และกรอบการติดตามประเมินผล
5. เร่งรัดการใช้จ่ายงบลงทุน
6. จัดการศึกษา จัดบริการการเรียนรู้ต่อเนื่อง และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยด้วยกระบวนการที่หลากหลาย



ไตรมาสที่ 2
(มกราคม - มีนาคม 2559)
1. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2. พัฒนาและดำเนินงานทุกโครงการ/กิจกรรมที่เป็นไปตามแผน
3. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
4. ติดตามผลการดำเนินงานและการเบิกจ่ายงบประมาณประจำไตรมาส

ไตรมาสที่ 3
(เมษายน - มิถุนายน 2559)
1. ขับเคลื่อนการจัดกิจกรรมในรูปแบบการประกวด และการขยายผลสู่การปฏิบัติในพื้นที่ในทุกโครงการ
2. ทบทวนการดำเนินงานและปรับกรอบการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3-4
3. จัดทำแผนคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ไตรมาสที่ 4
(กรกฎาคม - กันยายน 2559)
1. จัดทำสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

2. จัดทำนโยบายและจัดเน้นการดำเนินงาน สำนักงาน กศน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น